เบสของเหล้าบ๊วยคืออะไร ? ( What is the base of umeshu ? )
ทุกคนรู้หรือไม่ว่าเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่มีรสชาติและลักษณะที่แตกต่างกันนั้นนอกจากผลบ๊วยที่เป็นส่วนผสมหลักและส่วนผสมอื่น ๆ อาทิ น้ำตาลแล้วนั้น ยังมีอีกส่วนผสมหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลย ซึ่งส่วนผสมนี้จะทำให้มีแอลกอลฮอร์ผสมอยู่ในเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) นั้นก็คือ เบส (Base) หรือ เรียกว่าฐานของเหล้าบ๊วยก็ย่อมได้ ซึ่งการใช้เบสที่แตกต่างกันย่อมทำให้เกิดรสชาติที่หลากหลาย และซับซ้อนยิ่งมากขึ้น ทำให้เราสนุกไปกับการดื่มเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ในแบบต่าง ๆ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเบสที่ใช้ในเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ทั้งหมดทุกชนิดกันว่าจะมีอะไรบ้าง มาติดตามกันได้เลย
เหล้าขาว / White Spirit / ホワイトリカ
ตัวแรกเลยคือเหล้าขาวนั่นเอง โดยทั่วไปนิยมใช้เหล้าขาวมาดองเหล้าบ๊วยกันอย่างมากในครัวเรือน เนื่องจากการทำที่ง่ายไม่ซับซ้อน เพียงแค่ผสมน้ำตาลและเหล้าขาวตามอัตราส่วนที่กำหนดก็สามารถทำเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ออกมาดื่มกันเองได้แล้ว
เนื่องจากเหล้าขาวเป็นสุราไม่มีรสและไม่มีกลิ่น ดังนั้นแม้ว่าจะทำเป็นเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) แล้ว ก็ยังสามารถเพลิดเพลินกับกลิ่นหอมและรสชาติดั้งเดิมของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒)ได้ โดยไม่ต้องปรุงแต่งรสเพิ่มเติมใด ๆ
ดังนั้นจึงเป็นเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่เหมาะอย่างยิ่งกับคนที่ดื่มเหล้าไม่ค่อยเก่ง ก็สามารถดื่มได้อย่างง่ายดาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงดื่มแบบออนเดอะร็อค ผสมโซดา หรือแม้ว่าจะดื่มกับน้ำแข็งเกล็ด หรือผสมน้ำผลไม้อื่น ๆ ก็ตาม
ส่วนเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒)ที่ใช้เหล้าขาวมาเป็นเบส อย่างเช่น
โชจูแท้ / Honkaku Shochu / 本格焼酎
เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้โชจูแท้เป็นเบส นั้นผลิตในลักษณะเดียวกันกับเหล้าขาว อย่างไรก็ตาม ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เหล้าขาวไม่มีรส และไม่มีกลิ่น ในขณะที่โชจูแท้ ๆ คือเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้กลิ่นหอม และรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์
วัตถุดิบจากข้าวสาลี มันฝรั่ง ข้าวกล้อง ข้าว หรืออาวาโมริ ก็จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน ด้วยการใช้โชจูคุณภาพสูง ส่วนผสมของบ๊วยจะละลายและผสมกันอย่างลงตัว ดังนั้นความเข้มข้นและความคมชัดของโชจูแท้ ๆ จึงเกิดความกลมกล่อม รสชาติของโชจูจะแตกต่างกันไปตามประเภทของโชจู
นอกจากนี้เนื่องจากโชจูแท้ มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่าเหล้าขาว เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ได้จึงมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื่องจากลักษณะเฉพาะเหล่านี้ ผู้ที่ดื่มสุราได้ดีจึงดื่มได้ง่ายแม้จะดื่มโดยวิธีออนเดอะร็อค แต่ผู้ที่ดื่มไม่เก่งอาจผสมโซดาเพื่อลดปริมาณแอลกอฮอล์ลง และจะได้กลิ่นหอมที่ค่อย ๆ ผุดขึ้นมาของกรดคาร์บอนิก นอกจากนี้ยังแนะนำให้ดื่มกับน้ำแข็งเกล็ดจะให้รสชาติที่สดชื่นในขณะที่ปริมาณแอลกอฮอล์ลดลง
ส่วนเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้โชจูแท้มาเป็นเบส อย่างเช่น
นิฮงชู (เหล้าสาเก) / Nihonshu (Japanese Sake) / 日本酒
เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้สาเกเป็นเบส นั้นผลิตในลักษณะเดียวกับเหล้าขาว และโชจูแท้ แต่มีการลดปริมาณน้ำตาลลงมาพอประมาณ เพื่อจะได้ไม่ไปทำลายความหวานดั้งเดิมของสาเก เอกลักษณ์ของเบสสาเก คือทำให้เกิดรสชาติที่ลึกล้ำและแพร่ซ่านไปทั่วทั้งปาก ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าตัวสาเกดั้งเดิมนั้นมีความหวานตามธรรมชาติที่ผลิตจากข้าว ดังนั้นการควบคุมน้ำตาลขณะทำการผลิต จะทำให้ความหวานตามธรรมชาติของสาเกและบ๊วยถูกชูขึ้นมาเด่นชัดมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีความกลมกล่อมและเข้มข้นอีกด้วย
เพื่อให้ได้ความหวานตามธรรมชาติ แนะสามารถดื่มได้อย่างเอร็ดอร่อยโดยวิธีออนเดอะร็อค และสามารถสัมผัสกลิ่นของบ๊วยได้มากขึ้นโดยผสมกับโซดา แต่ควรหลีกเลี่ยงการผสมกับน้ำผลไม้เพราะมันจะทำลายความหวานของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ไป ดูเหมือนว่าหลายคนจะชอบดื่มเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) เบสสาเก เพราะมีน้ำตาลน้อยมันจึงดีต่อสุขภาพ
ส่วนเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้สาเกมาเป็นเบส อย่างเช่น
บรั่นดี / Brandy / ブランデー
เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้บรั่นดีเป็นเบส จะใช้น้ำตาลในปริมาณที่สูงกว่าเบสตัวอื่น ๆ เล็กน้อย ในบรั่นดีเองก็มีความหวานอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากให้ความหวานโดดเด่นขึ้นมาอีกสามารถเติมน้ำตาลเพิ่มได้ ตรงกันข้ามถ้าหวานพอประมาณ ก็สามารถจำกัดปริมาณน้ำตาลไว้ได้
ลักษณะเด่นอีกอย่างของการใช้เบสบรั่นดี คือระยะเวลาในการดอง (บ่ม) เบสชนิดอื่น ๆ มีอายุการผลิตที่ยาวนาน ตัวอย่างเช่น การใช้เบสเหล้าขาวต้องดองทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี แต่เมื่อใช้บรั่นดีผสมลงไปแล้ว ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนก็สามารถทำเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ออกมาได้
นอกจากนี้เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ได้จะกลมกล่อม และหวานกว่าเบสเหล้าขาว ตัวบรั่นดีเองยังมีกลิ่นหอมมาก และมีรสชาติที่ล้ำลึก ซึ่งเข้ากับกลิ่นของบ๊วยได้อย่างลงตัว แถมยังดื่มง่ายมากเพราะได้ขจัดรสชาติเฉพาะที่อยู่ในบรั่นดีเพียว ๆ ออกไปได้
ด้วยลักษณะเฉพาะดังกล่าวจึงเป็นเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่มีความพิเศษ ไม่เพียงเหมาะสำหรับการเพลิดเพลินกับรสชาติดั้งเดิมด้วยวิธีการดื่มแบบออนเดอะร็อคเท่านั้น แต่ยังเหมาะสำหรับการผสมโซดาเพื่อเพลิดเพลินกับกลิ่นหอม หรือเพื่อความสดชื่นด้วยใส่ในน้ำแข็งเกร็ด
นอกจากนี้ เนื่องจากมีกลิ่นหอมมาก จึงแนะนำให้เติมกลิ่นหอมด้วยชาดำได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) มาเป็นส่วนผสมเพื่อทำขนม เช่น เยลลี่ และเค้กลาวาได้
ส่วนเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้บรั่นดีมาเป็นเบส อย่างเช่น
วิสกี้ / Whisky /ウイスキー
เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้วิสกี้เป็นเบส นั้นผลิตในลักษณะเดียวกับตัวอื่น ๆ แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้วิสกี้มีกลิ่นควัน (Smoke) เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ทำให้กลิ่นบ๊วยถูกกดทับ ลักษณะเด่นของเบสวิสกี้คือ รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ที่ผสมผสานรสชาติและกลิ่นหอมของวิสกี้ และรสเปรี้ยวหวานของบ๊วย
ไม่ใช่แค่คนที่ชอบวิสกี้เท่านั้นที่ดื่มได้ แต่ยังรวมถึงคนที่ดื่มไม่เก่งด้วย เพราะว่ามันดื่มง่าย วิธีการดื่มที่แนะนำคือการผสมโซดา ซึ่งเป็นวิธีดื่มที่นิยมมากสำหรับผู้หญิง เนื่องจากความหวานและความเปรี้ยวของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒)
ส่วนเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้วิสกี้มาเป็นเบส อย่างเช่น
ทั้งหมดนี้คือเหล้าเบสหลัก ๆ ที่นำมาใช้ทำเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) กันอยู่ในปัจจุบัน หวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้เพิ่มเติมของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) และมีความสุขกับการดื่มเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) กันต่อไป และพบกันใหม่ในบทความต่อ ๆ ไป…
Credit :
Sawanotsuru.co.jp
Shugar.jp
Food-drink.pintoru.com
Journal.anabuki-style.com
Umeshujikan.net
Style.iichiko.co.jp
Ienomistyle.com
Da-inn.com
Mi-journey.jp